หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

พระปรีชาสามารถด้านการศึกษา และเทคโนโลยี

พระปรีชาสามารถด้านการศึกษา และเทคโนโลยี
          ในด้านทุนการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาขึ้นตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะพระองค์ทรางทราบดีว่าเด็กไทยมีความสามารถในการเรียน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ดังพระราชดำรัสแก่สมาชิกสโมสรไลออนส์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2513 ว่า
           “… การให้การศึกษาแก่คนนี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ระหว่างผู้ที่มีความรู้ ผู้ที่มีเจตนาดีต่อสังคม และผู้มีทุนทรัพย์...
      ดังนั้น พระองค์ทรงตั้งกองทุนพระราชทานให้แก่เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ซึ่งแต่ละทุนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
      •  ทุนมูลนิธิ ภูมิพล ก่อเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 100 , 000 บาท ให้แก่มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ เพื่อพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผู้เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ ต่อมาได้พระราชทานทุนขยายไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ และได้ตราระเบียบลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2511 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
     •  ทุนประเภทช่วยเหลือการศึกษา 
     •  ทุนประเภทช่วยเหลือการทำปริญญานิพนธ์หรือการวิจัย 
       •  ทุนมูลนิธิ อานันทมหิดล ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยพระราชทานทุนนี้แก่นักศึกษาแพทย์ตามรอยพระบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เพื่อให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเมื่อสำเร็จแล้วให้มาทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เรียนมา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดทะเบียนตราสารทุนอานันทมหิดล เป็น มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2502
ปัจจุบันมูลนิธิ อานันทมหิดล ได้พระราชทานทุนแก่นักศึกษาสาขาต่างๆ คือ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วารสารศาสตร์ และอักษรศาสตร์ 
    •  ทุนเล่าเรียนหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ริเริ่มพระราชทาน ทุนเล่าเรียนหลวง ” (King's Scholarship) ให้นักเรียนไปเรียต่อต่างประเทศต่อเนื่องกันมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองาจึงยุติไปใน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูทุนนี้ขึ้น โดยพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการได้คะแนนดีเยี่ยมปีละ 9 ทุน คือ แผนกศิลปะ 3 ทุน แผนกวิทยาศาสตร์ 3 ทุน และแผนกทั่วไป 3 ทุน
    •  ทุนการศึกษาสังเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ก่อตั้ง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อสงเคราะห์เด็กที่ครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งช่วยเหลือราษฏรผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ
   •  ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย ใน พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างสถาบันวิจัยค้นคว้าเรื่องโรคเรื้อน ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากว่าขณะนั้นโรคเรื้อนได้ระบาดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกพยายามกำจัดโรคเรื้อนให้หมดไปภายใน 10 ปี แต่ต้องมีสถาบันค้นคว้าและวิจัย ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานเงินทุนในการก่อตั้งสถาบัน และเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีเปิดสถาบันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2503 พระราชทานนามว่า ราชประชาสมาสัย ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงรับมูลนิธินี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีข้อแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะต้องจัดตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อน ซึ่งแยกจากบิดามารดาตั้งแต่แรกเกิดดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานถึงการก่อตั้งโรงเรียน และพระราชดำรัสในพิธีเปิดโรงเรียนราชประชาสมาสัย เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2507
  •  ทุนนวฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาริเริ่มก่อตั้ง ทุนนวฤกษ์ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์แต่มีผลการเรียนดี ความประพฤติเรียบร้อย ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับต่างๆ รวมทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และสมทบจากผู้บริจาคทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อสังเคราะห์เด็กยากจนและเด็กกำพร้าให้มีสถานศึกษาเล่าเรียน
       •  ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี 
       •  ทุนพระราชทานแก่นักเรียนชาวเขา 
       •  ทุนพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะสถานศึกษา 
       •  รางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น
        ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาหลายด้าน อาทิ วิทยาศาสตร์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วพระองค์ทรงสนพระทัยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง
     ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกเหนือจากพระอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระราชหฤทัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย พระองค์ทรงประดิษฐ์และสร้างสรรค์งานต่างๆ มากมายเนื่องจากตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรเป็นประจำ เมื่อพระองค์พบเจอปัญหาที่ราษฎรประสบพระองค์ก็ทรงศึกษาและประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือบรรเทาปัญหาต่างๆ ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการและมูลนิธิต่างๆ ดังนี้
1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะแรกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 
•  โครงการลักษณะที่พระองค์ทรงทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เป็นการส่วนพระองค์ และนำผลสรุปพระราชทานเผยแพร่แก่เกษตรกร 
•  โครงที่พระองค์ทรงเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร ระยะแรกโครงการยังจำกัดอยู่ในพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาค ต่อมาเริ่มขยายตัวสู่สังคมเกษตรในพื้นที่ต่างๆ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอยู่มากมายหลายสาขา หลายประเภท ในระยะแรกมีชื่อ เรียกแตกต่างกันไปดังนี้คือ 
•  โครงการตามพระราชประสงค์ 
•  โครงการหลวง 
•  โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ 
•  โครงการตามพระราชดำริ 
2 . มูลนิธิชัยพัฒนา ความเป็นมา เป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดในความรู้สึก และสำนึกของประชาชนชาวไทยทุกถ้วนหน้าว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งดวงใจและความจงรักภักดีอันยิ่งใหญ่ของพสกนิกรชาวไทยทั้งชาติ ด้วยเหตุที่ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา เวลา และพระราชทรัพย์ ตลอดจนได้อุทิศพระองค์ในการทรงงาน และประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ตลอดมา เป็นระยะเวลาที่ยาวนานและต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าบังเกิดความร่มเย็น มีความอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นส่วนรวม
      อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดำเนินงานพัฒนาช่วยเหลือประชาชนตามระบบราชการนั้นบางครั้งบางโอกาสจำเป็นต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการกำหนดไว้ตามขั้นตอนต่างๆ ทำให้โครงการบางโครงการอาจถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขบางประการ เช่น กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณ ฯลฯ จนเป็นเหตุให้การดำเนินงานนั้นๆ ไม่สอดคล้องหรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำการโดยเร็ว
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ ในกรณีที่การดำเนินการนั้นๆ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือดำเนินงานในลักษณะอื่นใดที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็ว และไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเงื่อนไขของเวลา
กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคลตามเลขทะเบียนลำดับที่ 3975 ตั้งแต่ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2531 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 109 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
3. ทฤษฎีใหม่ การขุดสระน้ำประจำไร่นา
“… หลักสำคัญจะต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..
       จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้ได้พระราชทานแก่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และคณะฯ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2529 ณ สวนจิตรลดา คงสามารถเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าพระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญเรื่องทรัพยากรน้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะน้ำนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าในด้านอุปโภคหรือบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก
        ตลอดระยะเวลานานกว่า 40 ปี พระองค์ทรงทุ่มเทพระสติปัญญาตรากตรำพระวรกายโดยมิได้ย่อท้อต่อความเหนื่อยยากแม้แต่น้อยท่ามกลางปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ พระองค์ทรงหาหนทางโดยใช้หลักการหรือทฤษฎีปฏิบัติอย่างง่ายๆ เข้าแก้ไขสิ่งที่ยากอยู่เสมอ เพราะทุกหนทางที่จะแก้ไขนั้นจะต้องเป็นหนทางที่ชาวบ้านทำได้ แต่ที่สำคัญในการแก้ไขปัญา พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบายให้ราษฏรเข้ามามีส่วนร่วม มีส่วนรับผิดชอบด้วยตนเองด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ราษฏรมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ หวงแหน และแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับ ทฤษฏีใหม่ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรให้ราษฏรและได้ใช้พื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา อันเป็นมูลนิธิส่วนพระองค์ทำการทดสอบจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี แนวทางในการแก้ไขของพระองค์นั้นแสนจะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ลึกซึ้งยิ่งนักเพราะเป็นหนทางธรรมชาติ
     ในแง่สภาพแวดล้อมของเกษตรกรหากพิจารณาอันดับแรกพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าธรรมชาตินั้นได้ปรับสร้างความสมดุลระหว่างธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์อยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าสภาพภูมิประเทศได้ปรับตัวเองให้เป็นลักษณะหนอง คลอง บึง เพื่อเก็บกักน้ำยามน้ำหลากมาในฤดูฝนอยู่แล้ว ซึ่งทำให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้งแต่มนุษย์กลับละเลยไม่ดูแลธรรมชาติอันล้ำค่านี้
นอกจากไม่ดูแลแล้ว มนุษย์มีความโลภและทำลายโครงสร้างของธรรมชาติด้วย หนอง คลอง บึง จึงอยู่ในสภาพตื้นเขินจนใช้การไม่ได้หลายส่วนถูกยึดครองโดยไม่ชอบธรรมผลสุดท้ายสภาพความทุกข์ยากก็เกิดขึ้น ยามน้ำหลากก็ไหลท่วมเพราะไม่มีหนอง คลอง บึง คอยรองรับเพื่อผ่อนคลายความรุนแรงของน้ำ และพอพ้นหน้าน้ำก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งไม่มีน้ำเก็บกักไว้ใช้ ดังนั้น พระองค์จึงได้มีพระบรมราโชบายให้ทำการบูรณะฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้ทั่วประเทศ

       พระองค์จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้พิจารณาจัดหาน้ำ เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกของราษฏร โดยดำเนินการขุดสระเก็บน้ำตามทฤษฎีใหม่ เหมือนกับที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการที่โครงการพัฒนาพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าพื้นที่ครอบครองขนาดเล็กและมีสภาพแห้งแล้งสามารถที่จะใช้เกิดประโยชน์อย่างได้ผล และสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก การประมง และการเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ และเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างให้ราษฏรบริเวณใกล้เคียงสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองเป็นการเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่ครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น